วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2559
น้ำตกคลองแก้ว
อุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองแก้ว เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนไม่มากนักของเทือกเขาบรรทัด ประกอบด้วย เขาแก้ว เขาตาบาด เขาตาโชติ และเขากำแพง ส่วนยอดเขาเป็นแนวแบ่งเขตประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 100-836 เมตร ยอดเขาที่สูงที่สุด คือ ยอดเขาบาด ซึ่งมีความสูงถึง 836 เมตรจากระดับน้ำทะเล สภาพภูมิประเทศเช่นนี้ก่อให้เกิดสายน้ำหลายสาย เช่น คลองลึก คลองแอ่งปุก คลองแก้ว คลองตาบาด คลองหินเพลิง คลองลือ คลองกะใจ คลองมะละกอ ฯลฯ สายน้ำแต่ละสายจะไหลลงสู่คลองสะตอแล้วออกสู่ทะเล ต่อมาเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2552 อุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองแก้วได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ลำดับที่ 121 ของประเทศไทย โดยประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 126 ตอนที่ 97 ก ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2552 มีเนื้อที่ประมาณ 123,700 ไร่ หรือ 197.92 ตารางกิโลเมตร
หาดทรายดำ
หาดทรายดำ ถือว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้นจากระบบนิเวศของธรรมชาติ ปัจจุบันมีเพียง 5 แห่งในโลก ซึ่งหนึ่งในห้านั้นก็ ตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแหลมมะขาม อำเภอแหลมงอบ จ.ตราด ดินแดนภาคตะวันออกของประเทศไทย หาดทรายดำหรือหาดหัวสวน แห่งนี้ มีความเชื่อกันว่า หาดทรายดำสามารถรักษาโรคได้ เพียงแค่ไปนอนหมกตัวอยู่ในทราย ด้วยความเชื่อนี้ทำให้เกิดเสียงเล่าลือกันไปต่าง ๆ นา ๆ จนทำให้ชาวบ้านและนักท่องเที่ยวต่างแห่กันมาที่หาดทรายดำกันมากขึ้น
ในปัจจุบันระบบนิเวศโดยรอบของหาดทรายดำซึ่งเป็นป่าชายเลนนั้น มีความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติเป็นอย่างมาก ทำให้ทางจังหวัดตราด พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดตราด มีการเปิดเส้นทางศึกษาธรรมชาติหาดทรายดำขึ้น เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้มาสัมผัสกับความมหัศจรรย์และยังได้ความรู้ต่าง ๆ ของระบบนิเวศป่าชายเลน จากป้ายต่าง ๆ ที่เจ้าหน้าที่จัดไว้ให้ตลอดเส้นทาง หากใครจะไปสัมผัสกับหาดทรายดำต้องดูช่วงเวลาน้ำขึ้น น้ำลงให้ดี เพราะถ้าไปช่วงน้ำลง ท่านจะได้เห็นหาดทรายดำที่กว้างใหญ่ สามารถลงไปสัมผัส และเก็บภาพสวย ๆ ได้แต่ถ้าไปในช่วงน้ำขึ้น จะถือว่ามาเสียเที่ยว ยังไงก็เลือกช่วงเวลากันให้ดี ๆ นะครับ
ถือได้ว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวมี่สำคัญของจังหวัดตราด
วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2559
ตลาดพลอย
ตลาดพลอย
ที่ผ่านมาตลาดพลอยในอำเภอบ่อไร่ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งผลิตพลอยแดง
หรือทับทิมสยาม ตลาดพลอยที่ น่าสนใจ ได้แก่ ตลาดพลอยหัวทุ่ง ตลาดพลอยบ้านสระใหญ่
ตลาดพลอยหนองบอน ฯลฯ โดยในแต่ละวันตลาดพลอยแต่ละแห่ง
จะเริ่มเปิดให้มีการซื้อขายในช่วงเช้าตรู่จนถึงเวลา ๑๐.๐๐ น.
ปัจจุบันตลาดพลอยในเขตอำเภอบ่อไร่ประสบปัญหาในเรื่องหาแหล่งพลอยได้ยากจึงทำให้ธุรกิจเกี่ยวกับการค้าขายพลอยซบเซาลง ถ้านักท่องเที่ยวที่สนใจจะไปซื้อพลอย หรือชมสภาพโดยทั่ว ๆ ไปของตลาดพลอยนั้น ยังพอมีเหลือให้ชม และซื้ออยู่บ้าง
ปัจจุบันตลาดพลอยในเขตอำเภอบ่อไร่ประสบปัญหาในเรื่องหาแหล่งพลอยได้ยากจึงทำให้ธุรกิจเกี่ยวกับการค้าขายพลอยซบเซาลง ถ้านักท่องเที่ยวที่สนใจจะไปซื้อพลอย หรือชมสภาพโดยทั่ว ๆ ไปของตลาดพลอยนั้น ยังพอมีเหลือให้ชม และซื้ออยู่บ้าง
ศูนย์ราชการุณย์สภากาชาดไทย เขาล้าน
ศูนย์ราชการุณย์สภากาชาดไทย เขาล้าน
ศูนย์ราชการุณย์สภากาชาดไทย เขาล้าน เดิมมีนามว่า"
ศูนย์สภากาชาดไทย เขาล้าน" เกิดขึ้นจากพระมหากรุณาธิคุณ
ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สภานายิกาสภากาชาดไทยได้มีพระราชเสาวนีย์ให้สภากาชาดไทย จัดตั้งศูนย์
รับผู้อพยพชาวกัมพูชาจำนวนนับแสนคน ณ บริเวณบ้านเขาล้าน ตำบลไม้รูด อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ในโอกาส ที่ได้
เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมผู้อพยพที่ได้เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2522
ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สภานายิกาสภากาชาดไทยได้มีพระราชเสาวนีย์ให้สภากาชาดไทย จัดตั้งศูนย์
รับผู้อพยพชาวกัมพูชาจำนวนนับแสนคน ณ บริเวณบ้านเขาล้าน ตำบลไม้รูด อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ในโอกาส ที่ได้
เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมผู้อพยพที่ได้เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2522
ในระยะแรกผู้อพยพทำที่พักอาศัยอยู่ที่ใต้ต้นไม้โดยใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่
เช่น ผ้าขาวม้า เป็นเครื่องบังแดดบังฝน ต่อมา
ได้รับการแจกผ้าพลาสติกเพื่อใช้เป็นที่บังแดดบังฝนในระยะต่อมาได้มีการก่อสร้างเพิงเป็นที่พักชั่วคราวทำด้วยไม้ไผ่หลังคา
มุงแฝกและใบจาก พร้อมกันนี้ได้สร้างเพิงชั่วคราวเพื่อใช้เป็นที่ทำการในการให้ความช่วยเหลือผู้อพยพ รวมทั้งที่พักและ
หน่วยพยาบาล ในเวลาต่อมาจึงได้สร้างอาคารถาวร ประกอบด้วยสถานที่เลี้ยงเด็กกำพร้า โรงฝึกอบรม โรงเรียน และบ้านพัก
ศูนย์สภากาชาดไทย แห่งนี้ได้ให้ความอนุเคราะห์ช่วยเหลือชาวกัมพูชาอพยพอยู่ 7 ปีเศษ ได้ปิดลงอย่างเป็นทางการเมื่อ
วันที่ 4 กรกฎาคม 2529 เมื่อปิดศูนย์ฯ ลง สภากาชาดไทยได้ขอให้กองทัพเรือส่งทหารเข้ามาดูแลพื้นที่ กองทัพเรือได้จัด
ให้ชุดควบคุมทหารพรานนาวิกโยธินที่ 3เข้ามาอยู่ดูแลพื้นที่สถานที่ดังกล่าวถูกปล่อยให้รกร้างว่างเปล่าไม่ได้ใช้ประโยชน์
แต่อย่างใด
ได้รับการแจกผ้าพลาสติกเพื่อใช้เป็นที่บังแดดบังฝนในระยะต่อมาได้มีการก่อสร้างเพิงเป็นที่พักชั่วคราวทำด้วยไม้ไผ่หลังคา
มุงแฝกและใบจาก พร้อมกันนี้ได้สร้างเพิงชั่วคราวเพื่อใช้เป็นที่ทำการในการให้ความช่วยเหลือผู้อพยพ รวมทั้งที่พักและ
หน่วยพยาบาล ในเวลาต่อมาจึงได้สร้างอาคารถาวร ประกอบด้วยสถานที่เลี้ยงเด็กกำพร้า โรงฝึกอบรม โรงเรียน และบ้านพัก
ศูนย์สภากาชาดไทย แห่งนี้ได้ให้ความอนุเคราะห์ช่วยเหลือชาวกัมพูชาอพยพอยู่ 7 ปีเศษ ได้ปิดลงอย่างเป็นทางการเมื่อ
วันที่ 4 กรกฎาคม 2529 เมื่อปิดศูนย์ฯ ลง สภากาชาดไทยได้ขอให้กองทัพเรือส่งทหารเข้ามาดูแลพื้นที่ กองทัพเรือได้จัด
ให้ชุดควบคุมทหารพรานนาวิกโยธินที่ 3เข้ามาอยู่ดูแลพื้นที่สถานที่ดังกล่าวถูกปล่อยให้รกร้างว่างเปล่าไม่ได้ใช้ประโยชน์
แต่อย่างใด
เกาะหมาก
เกาะหมาก
เกาะหมากเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญของจังหวัดตราด ชื่อเกาะหมากได้มาจากคำพ้องเสียงของคำว่า ”หมากป่า” ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งที่ในอดีตมีอยู่เป็นจำนวนมากบนเกาะ
เกาะหมากมีความเกี่ยวโยงกับเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติไทย เนื่องด้วยตั้งอยู่ในทะเลตราดฝั่งอ่าวไทย ครั้งหนึ่งในยุคล่าอาณานิคม ฝรั่งเศสพยายามที่จะเข้ามายึดดินแดนประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ.2436 ตรงกับรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 ฝรั่งเศสได้เข้ามายึดเมืองจันทบุรีและเมืองต่างๆ ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ต่อมาในปี พ.ศ.2446 (ร.ศ.122) ไทยได้เสียดินแดนให้แก่ฝรั่งเศสเนื่องจากการตกลงทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศส ทำให้ไทยจำต้องยกดินแดนตั้งแต่ อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี ไปจนถึงเกาะหมาก เกาะกูด และเมืองปัจจันตคีรีเขตร เพื่อแลกเปลี่ยนกับการถอนกองทหารออกจากจันทบุรีและในปี พ.ศ.2449 รัชกาลที่ 5 ทรงตัดสินพระทัยยอมยกดินแดน พระตะบองเสียมราฐ และศรีโสภณ เพื่อแลกเอาจังหวัดตราดและหมู่เกาะต่างๆ คืนมาเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2449
อนุสรณ์สถานยุทธนาวีที่เกาะช้าง
อนุสรณ์สถานยุทธนาวีที่เกาะช้าง ตั้งอยู่ที่ถนนสุขาภิบาล 3 ตำบลแหลมงอบ ภายในบริเวณมีลักษณะเป็นอนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์หันพระพักตร์ไปยังบริเวณยุทธนาวีเกาะช้าง
และภายใต้อนุสาวรีย์ยังเป็นอาคารพิพิธภัณฑ์ ที่ออกแบบคล้ายเรือรบ เพื่อให้รำลึกถึงประวัติศาสตร์ของกรมกลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์กับประวัติศาสตร์การสู้รบของกองทัพเรือไทยกับกองกำลังเรือรบของฝรั่งเศส โดยจำลองภาพเหตุการณ์ของวันที่ 16-17 มกราคม พ.ศ. 2484 ซึ่งกองกำลังของฝรั่งเศสในอินโดจีนได้ส่งกำลังทางเรือเข้ามาทางหัวเมืองชายทะเลตะวันออกของไทย พร้อมเครื่องบินลาดตระเวณทางอากาศ กองทัพเรือได้จัดกำลังทางเรือปกป้องน่านน้ำไทยและได้ปะทะกันอย่างองอาจกล้าหาญเรือรบหลวงธนบุรีได้ยิงต่อสู้จนเรือข้าศึกถอยไปทั้งๆที่ถูกยิงเสียหายอย่างหนักจนจมลงในที่สุด พร้อมการสูญเสียกำลังพลประจำเรือถึง 36 นาย
การรบที่เกาะช้าง หรือที่รู้จักกันในนาม ยุทธนาวีเกาะช้าง เป็นเหตุการณ์รบทางเรือที่เกิดขึ้นในกรณีพิพาทไทย-อินโดจีนฝรั่งเศส อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่ไทยเรียกร้องให้ปรับปรุงเส้นแบ่งเขตแดนไทย-อินโดจีนฝรั่งเศสเสียใหม่ โดยใช้แนวร่องน้ำลึกเป็นเกณฑ์ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศและหลักความยุติธรรม และให้ฝรั่งเศสคืนดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงที่ฝรั่งเศสยึดไปจากเหตุการณ์ ร.ศ. 112 ให้ไทย ยุทธภูมิในการรบครั้งนี้เกิดขึ้นที่บริเวณด้านใต้ของเกาะช้าง จังหวัดตราด เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2484 และถือเป็นการรบทางทะเลครั้งเดียวในประวัติศาสตร์กองทัพเรือไทย และรัฐบาลวิชีฝรั่งเศสในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง อีกด้วย
ซึ่งทางกองทัพเรือได้จัดงานรำลึกวีรกรรมแห่งยุทธนาวีครั้งนั้น ในวันที่ 17-21 มกราคมของทุกปี
ป่าชายเลนบ้านเปร็ดใน
ป่าชายเลนบ้านเปร็ดใน เป็นป่าชายเลนที่มีความอุดมสมบูรณ์และใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย มีการรวมกลุ่มภายในชุมชนเพื่อบริหารจัดการและดูแลทรัพยากรท้องถิ่นอย่างจริงจัง กิจกรรมท่องเที่ยวภายในหมู่บ้านประกอบด้วย เส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติของระบบนิเวศน์ป่าชายเลน และนั่งเรือชมทัศนียภาพที่สวยงามของป่า ปัจจุบันบ้านเปร็ดในได้รับความสนใจจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เดินทางมาศึกษาดูงานเนื่องจากเป็นศูนย์การเรียนรู้ป่าชายเลน
ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองตราด
ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองตราด ตั้งอยู่บนถนนหลักเมือง ใกล้วัดโยธานิมิตร ศาลนี้มีลักษณะแปลกจากศาลหลักเมืองอื่น ๆ คือ ตัวอาคาร ก่อสร้างในลักษณะเป็นเก๋งจีน ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองตราดเป็นสิ่งสำคัญคู่บ้านเมืองของชาวตราด เป็นศูนย์รวมจิตใจของทั้งคนไทยและ คนจีนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดมาแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยมีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า การตั้งเสาหลักเมือง อยู่ในรุ่นราวคราวเดียวกับการสร้าง วัดโยธานิมิต เมื่อครั้งมารวบรวมรี้พลกอบกู้เอกราชที่ตราด สมเด็จพระเจ้าตากสินโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นตามความเชื่อแบบจีนเพื่อ ให้ปกป้องคุ้มครองเมืองตราดให้รอดพ้นจากอันตราย ชาวเมืองอยู่เย็นเป็นสุข ศาลหลักเมืองเป็นดั่งศูนย์กลางเชื่อมความสัมพันธ์ไทย-จีน ภายในศาลหลักเมือง เสาต้นสูงคือเสาหลักเมือง เสาต้นต่ำคือเสาศิวลึงค์ มีเรื่องเล่าว่าศิวลึงค์เดิมอยู่ที่ ต.ห้วยแร้ง เจ้าเมืองสมัยนั้นเดินทาง ไปพบมีผู้คนศรัทธากราบไหว้ เชื่อว่าสามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้จึงอัญเชิญมาไว้คู่กันเป็นของสำคัญคู่บ้านคู่เมืองมาจนทุกวันนี้ ส่วนศาลเจ้าพ่อนั้น เดิมเป็นอาคารไม้มุงสังกะสีอยู่ด้านหลังศาลหลักเมือง ภายในมีภาพจำลองเจ้าพ่อหลักเมืองเขียนด้วยภาษาจีนกำกับ สร้างโดยชาวจีนใน จ.ตราด ต่อมาได้มีการสร้างอาคารหลังใหม่ขึ้นแทนอาคารไม้ที่ชำรุดทรุดโทรมและได้อัญเชิญรูปหล่อเจ้าพ่อ เข้าประทับ
วัดโยธานิมิตร
วัดโยธานิมิตร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่ที่หมู่ 1 ถ.เทศบาล 4 อ.เมือง สังกัดมหานิกาย ชาวบ้านส่วนใหญ่นิยมเรียกว่า “วัดโบสถ์” ไม่มีหลักฐานการสร้างที่แน่นอน เป็นวัดเก่าแก่ที่สำคัญและมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อีกแห่งหนึ่งของเมืองตราด ในอดีตเคยใช้เป็นสถานที่ทำพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาของข้าราชการ ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงรวบรวมบรรดารี้พลที่วัดแห่งนี้ เมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาพระคลังคุมทัพเรือมาทำสงครามกับเขมร และระหว่างที่พักกองทัพอยู่นั้น ได้พร้อมใจกันสร้างวัดขึ้นขนานนามว่า “วัดโยธานิมิต” เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจระลึกถึงการที่เคยได้ร่วมรบ ร่วมกิน ร่วมนอนมาด้วยกัน โบราณสถานที่สำคัญของวัดนี้ ได้แก่ พระวิหาร (พระอุโบสถหลังเก่า) ซึ่งเป็นศิลปะแบบอยุธยา ภายในพระวิหารมีภาพเขียนจิตกรรมฝาผนังที่น่าสนใจ เช่น ภาพเขียนเรื่องเวสสันดรชาดก ฯลฯ และเคยเป็นสถานที่ถือน้ำพิพัฒน์สัตยาของข้าราชการเมืองตราด วัดโยธานิมิต (วัดโบสถ์) เป็นวัดหนึ่งที่เข้าร่วมโครงการปฏิบัติธรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามแนวนโยบายของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาต
เกาะช้าง
เกาะช้าง ไม่ว่าจะฤดูหนาว ฤดูร้อน ฤดูฝน หรือฤดูไหน ๆ น้ำทะเลสวย ๆ หาดทรายขาวละเอียดของ"อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง" หรือที่ใคร ๆ เรียกกันจนติดปากว่า เกาะช้าง ยังคงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่แสนจะฮอตฮิตติดลมบนอันดับต้น ๆ ของเมืองไทยที่ใครนึกอยากจะไปพักผ่อนคลายเครียดคิดถึงเนื่องจาก เกาะช้าง สามารถไปเที่ยวตลอดทั้งปีเพราะความสวยงามของแต่ละฤดูที่ เกาะช้าง จะแตกต่างกันออกไป
เกาะช้าง มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศรองจากเกาะภูเก็ต แถมยังมีเกาะเล็กเกาะใหญ่ มากกว่า 52 เกาะ ให้เลือกว่าจะไปนอนกินลมชมวิวสวยๆ ที่ไหนอีกทั้งบน เกาะช้าง ยังมีกิจกรรมต่าง ๆ ให้ทำแบบไม่มีเหงาแต่เดิม เกาะช้าง ไม่มีชุมชนตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยหากมีความสำคัญในฐานะที่เป็นท่าจอดเรือหลบลมมรสุม เป็นแหล่งเสบียงอาหารและน้ำจืดโดยเฉพาะบริเวณอ่าวสลักเพชร หรืออ่าวสลัดเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่โจรสลัด ชาวจีนไหหลำ และญวนปัจจุบันบน เกาะช้าง มีประชาชนอาศัยอยู่ 8 หมู่บ้าน และมีเนื้อที่ทั้งสิ้น650 ตารางกิโลเมตร เฉพาะ เกาะช้าง มีเนื้อที่ถึง 268,125 ไร่ หรือประมาณ429 ตารางกิโลเมตร
เกาะช้าง มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศรองจากเกาะภูเก็ต แถมยังมีเกาะเล็กเกาะใหญ่ มากกว่า 52 เกาะ ให้เลือกว่าจะไปนอนกินลมชมวิวสวยๆ ที่ไหนอีกทั้งบน เกาะช้าง ยังมีกิจกรรมต่าง ๆ ให้ทำแบบไม่มีเหงาแต่เดิม เกาะช้าง ไม่มีชุมชนตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยหากมีความสำคัญในฐานะที่เป็นท่าจอดเรือหลบลมมรสุม เป็นแหล่งเสบียงอาหารและน้ำจืดโดยเฉพาะบริเวณอ่าวสลักเพชร หรืออ่าวสลัดเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่โจรสลัด ชาวจีนไหหลำ และญวนปัจจุบันบน เกาะช้าง มีประชาชนอาศัยอยู่ 8 หมู่บ้าน และมีเนื้อที่ทั้งสิ้น650 ตารางกิโลเมตร เฉพาะ เกาะช้าง มีเนื้อที่ถึง 268,125 ไร่ หรือประมาณ429 ตารางกิโลเมตร
ตลาดชายแดนบ้านหาดเล็ก
ตลาดชายแดนบ้านหาดเล้ก เป็นตลาดที่ไม่ไหญ่มาก ตลาดตั้งอยู่บ้านหาดเล็ก
เป็นหมู่บ้านติดกับราชอาณาจักรกำพูชา ลาดแห่งนี้นับเป็นแหล่งรับซื้อพืชพันธุ์ธัญญาหารของชาว
กัมพูชาเพื่อไปขายต่อที่เกาะกง และยังมีสินค้าราคาถูกที่มาจากประเทศกัมพูชา เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า
แว่นตา น้ำหอม เป็นต้น จากจุดนี้นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางโดยนั่งรถแท็กซี่จากชายแดนบริเวณบ้าน
หาดเล็กฝั่งประเทศกัมพูชาเพื่อที่จะไปเกาะกงได้ อัตราราคาค่าโดยสารแล้วแต่จะตกลงกัน และสำหรับ
การเดินทางจากตัวเมืองตราดไปเกาะกงสามารถนั่งรถตู้จากตัวเมืองตราดไปหาดเล็ก โดยจะมีรถออกทุก ชั่วโมง ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง
เกาะกูด
เกาะกูด เปนแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญที่หนึ่งในจังหวัดตราด ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของหมู่เกาะทะเลตราด มีธรรมชาติที่สมบูรณ์ มีหาดทรายและน้ำทะเลใสสีมรกต จนได้รับการขนานนามว่า "อันดามันแห่งทะเลตะวันออก" เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวและพักผ่อนท่ามกลางธรรมชาติที่ไม่ต้องการความวุ่นวาย นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางไปพักผ่อนในช่วงเดือนตุลาคม ไปจนถึงเดือน พฤษภาคม เพราะเป็นช่วงที่ดีที่สุดในการท่องเที่ยว ที่สุดของท้องทะเลตราดต้องเกาะกูด พร้อมด้วยหาดทรายขาว ให้ท่านได้เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติอย่างแท้จริง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)